Saturday 19 May 2012

ยุคของคอมพิวเตอร์


ยุคของคอมพิวเตอร์ (Computer Generations)

       นับตั้งแต่ได้มีการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใช้งาน และใช้กันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบันเราสามารถแบ่งยุคของคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้วิวัฒนาการของเครื่องเป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุค ซึ่งสามารถแบ่งยุคของคอมพิวเตอร์ออกเป็นด้วยกันทั้งหมด 5 ยุค

1.ยุคที่ 1 (The First Generation) ปี ค.ศ. 1951-1958
       คอมพิวเตอร์ในยุคแรกนี้ใช้หลอดสุญญากาศในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้ต้องการกำลังไฟฟ้าเลี้ยงวงจรที่มีปริมาณมากและทำให้มีความร้อนเกิดขึ้นมากจึงต้องติดตั้งเครื่องในห้องปรับอากาศ ความเร็วในการทำงานเป็นวินาที เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่ สื่อที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ ภาษาเครื่องซึ่งเป็นภาษาที่ใช้รหัสเลขฐานสอง ทำให้เข้าใจยาก สรุปยุคที่ 1 คือ อุปกรณ์ใช้หลอดไฟสุญญากาศและวงจนไฟฟ้า หน่วยวัดความเร็ววัดเป็นวินาที (Second) ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ Univac I, IBM 650, IBM 700, IBM 705, IBM 709 และ MARK I

2.ยุคที่ 2 (The Second Generation) ปี ค.ศ. 1959-1964
       เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง กินไฟน้อยลง ราคาถูกลง เพราะมีการประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ขึ้นมาใช้แทนหลอดสูญญากาศ ทำให้ทำงานได้เร็วขึ้น ความเร็วในการทำงานเท่ากับ 1/103 วินาที (มิลลิเซคคั่น) และได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องมากกว่าใช้หลอดสูญญากาศ ทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กกว่าหลอดสุญญากาศ 200 เท่า และได้มีการสร้างวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic core) มาใช้แทนดรัมแม่เหล็ก (Magnetic drum) เป็นหน่วยความจำภายใน ซึ่งใช้ในการเก็บข้อมูลและชุดคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียนโปรแกรมในยุคที่ 2 นี้ คือ ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้สัญลักษณ์แทนคำสั่งต่างๆ ทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายกว่าภาษาเครื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้  เช่น IBM 1620, IBM 401, Honeywell สรุปยุคที่ 2 คือ อุปกรณ์ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor) แทนหลอดไฟสุญญากาศ หน่วยวัดความเร็ว วัดเป็นมิลลิวินาที (Millisecond) ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาแอสเซมบลี (Assembly), ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM 1620, IBM 1401, CDC 6600, NCR 315, Honey Well

3.ยุคที่ 3 (The Third Generation) ปี ค.ศ. 1965-1970
       เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนามาใช้ในยุคนี้เป็นวงจรรวม หรือเรียกว่า ไอซี (IC : Tntegrated Circuit) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกบรรจุลงในแผ่นซิลิคอน (Silicon) บางๆ ที่ เรียกว่า ชิพ (Chip) ในชิพแต่ละตัวจะประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลายพันตัว จึงทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมแต่ความเร็วในการทำงานสูงขึ้น ความเร็วในการทำงานเป็นเศษหนึ่งส่วนหนึ่งร้อยหกวินาที (ไมโครเซคคั่น) กินไฟน้อยลง ความร้อนลดลง ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
       แต่ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะเป็นวงจรรวม คอมพิวเตอร์จะถูกออกแบบเพื่อใช้กับงานแต่ละอย่าง  เช่น ใช้ในงานคำนวณหรือใช้กับงานธุรกิจ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนามาใช้วงจรรวมก็สามารถใช้กับงานที่ซับซ้อนได้มากขึ้น
       IBM 360 เป็นหนึ่งในคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมที่สามารถทำงานได้ทั้งการประมวลผลแฟ้มข้อมูลและวิเคราะห์ค่าทางคณิตศาสตร์ ต่อมาบริษัท DEC (Digital Equipment Corporation) ได้หันมามุ่งผลิตคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันกับ IBM มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) จึงถูกพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงยุคที่ 2 และนิยมใช้กันแพร่หลาย DEC ได้แนะนำมินิคอมพิวเตอร์เครื่องแรกและ PDP1 เป็นหนึ่งในมินิคอมพิวเตอร์ยุคแรกที่นิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในกลุ่มของนักวิทยาศาสตร์ นักวิศวกร และนักวิจัย ตามมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ก็เกิดขึ้น โปรเกรมมาตรฐานได้ถูกเขียนขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ที่เป็นวงจรรวมและใช้เรื่อยมาหลังจากที่ได้มีการปรับปรุงทางด้านฮาร์ดแวร์ให้สามารถใช้งานได้ดีขึ้น สรุปยุคที่ 3 คือ อุปกรณ์ใช้วงจรแบบไอซี (IC) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกบรรจุลงในแผ่นซิลิกอน (Silicon) ที่เรียกว่า Chip หน่วยวัดความเร็ววัดเป็นไมโครวินาที (Microsecond) ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ COBOL, PL/1, RPG, BASIC ตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM 360, UNIVAC 9400 BURROUGH 7500, PDP1

4.ยุคที่ 4 (The fourth Generation) ปี ค.ศ. 1971-ปัจจุบัน
       ในยุคนี้ได้มีการพัฒนาเอาวงจรรวมหลายๆ วงจรมารวมเป็นวงจรขนาดใหญ่ เรียกว่า LSI (Large Scale Integrated) ลงในชิพแต่ละอัน บริษัทอินเทล (Intel) ได้สร้างไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) ซึ่งเป็นชิพ 1 ตัวที่ประกอบด้วยวงจรทั้งหมด ที่ต้องใช้ในการประมวลผลโปรแกรม
       ไมโครโปรเซสเซอร์หรือชิพที่ใช้ในเครื่องพีซี (PC : Personal Computer) มีขนาดกระทัดรัดประกอบด้วยส่วนประกอบของซีพียู (CPU) 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม (Control Unit) และหน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic/Logic Unit)
       ปัจจุบันได้มีการสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลายหมื่นวงจรรวมอยู่ในชิพเดียว เป็นวงจร LSI (Large Scale Integrated) และ VLSI (Very Large Scale Integrated) ในยุคนี้ได้มีการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ได้แก่ ไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ และซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับความนิยมมาก เพราะมีขนาดเล็ก กะทัดรัดและราคาถูกแต่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทำงานเร็วขึ้น ความเร็วในการทำงานเป็น เศษหนึ่งส่วนหนึ่งร้อยเก้าวินาที (นาโนเซคคั่น) และเศษหนึ่งส่วนหนึ่งพันสิบสองวินาที (พิโคเซคคั่น) นอกจากนี้วงจร LSI ยังได้ถูกนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เป็นการลดค่าใช้จ่ายพร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น สรุปคือ อุปกรณ์ใช้ระบบ LSI (Large Scale Integrated) ซึ่งเป็นวงจรที่ประกอบด้วยทรายซินเตอร์หลายพันตัวและต่อมาได้รับการพัฒนาปรับปรุงเป็น VlSI ซึ่งก็คือ Microprocessor หรือ CPU หน่วยวัดความเร็ว วัดเป็นนาโนเทคโนโลยี (Nanosecond) และพิโควินาที (Picosecond) ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาปาสคาล (PASCAL), ภาษาซี (C) ตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM 370

5.ยุคที่ 5 (The Fifth Generation) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 ขึ้นไป
       ในยุคที่ 4 และยุคที่ 5 ก็จัดเป็นยุคของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันแต่ในยุคที่ 5 นี้มีการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยการจัดการและนำมาใช้สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารจึงเกิดสาขา MIS (Management Information System) ขึ้น
       ในปี ค.ศ. 1980 ญี่ปุ่น ได้พยายามที่จะสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถคิดและตัดสินใจได้เอง โดยสร้างคอมพิวเตอร์ให้มี “สติปัญญา” เพื่อใช้ในการตัดสินใจแทนมนุษย์ จึงเกิดสาขาใหม่ขึ้น เรียกว่า สาขาปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence)
       สาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาที่เน้นถึงความพยายามในการนำเอากระบวนการทางความคิดของมนุษย์มาใช้ในการแก้ปัญหาด้วยระบบคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้มีการตื่นตัวในการจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบฐานข้อมูล (Database) การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานทางด้านกราฟิค และมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software) เพื่อใช้กับงานเฉพาะอย่าง  เช่น งานการเงิน งานงบประมาณ งานบัญชี งาน สต๊อกสินค้า เป็นต้น

***อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือ “ฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น”***

No comments:

Post a Comment